Childhood Trauma คนที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็ก มีพฤติกรรมอย่างไร ?

Childhood Trauma คนที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็ก มีพฤติกรรมอย่างไร ?

บาดแผลทางใจในวัยเด็ก (Childhood Trauma) มักมีผลต่อการใช้ชีวิตตอนโตเนื่องจากผลกระทบที่ได้รับในวัยเด็กและอาจมีการแสดงออกได้หลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะเหตุการ์ณที่ตัวเองพบเจอ อย่างเช่น คนที่สูญเสียคนที่รักจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในวัยเด็กจนทำให้เขาไม่กล้าขับรถอีกเลยแม้เหตุการ์ณจะผ่านมานานแล้วก็ตาม 

แต่ใช่ว่าทุกคนที่เคยผ่านเหตุการ์ณเลวร้ายในวัยเด็กจะตกอยู่ภายใต้บาดแผลทางใจทุกคนเพราะมีผลวิจัยรายงานว่า เด็กที่โตมากับประสบการ์ที่เลวร้ายแต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว แล้วพฤติกรรมของคนที่เป็นมีบาดแผลทางใจมีลักษณะยังไงบ้างนะ?

รูปแบบความผูกพันธ์ทางอารมณ์ มี 4 รูปแบบ
      👉 แบบมั่นคง เป็นรูปแบบของเด็กที่ถูกเลี้ยงดูอย่างมั่นคงแสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมาเมื่อหิว ร้องไห้ มีความรู้สึกที่มั่นคง เชื่อใจคนอื่นได้โดยส่วนใหญ่คนที่มีบาดแผลทางใจมักไม่ใช่คนที่มีความผูกพนธ์ทางอารมณ์แบบมั่นคง
      👉 แบบกังวัลหรือหมกมุ่นอยู่กับความรูกสึกกังวล มักเป็นคนที่กังวลว่าจะถูกทอดทิ้งอยู่เสมอ เมื่อมีแฟนมักถามแฟนซ้ำๆเพื่อต้องการ การยืนยืนอยู่ตลอดว่าจะไม่ถูกทอดทิ้ง
      👉 แบบปฏิเสทหลีกเลี่ยง มักเป็นคนที่มีลักษณะเย็นชา ห่างเหินไม่สนิทชิดเชื้อกับใคร บางครั้งคนอื่นมองว่าไม่ได้ใกล้ชิดเท่าไหร่ แต่สำหรับพวกเขาจะรุ้สึกว่ามันใกล้ชิดเกินไปและพยายามหลีกเลี้ยงออกมา ไม่ชอบขอความช่วยเหลือจากใคร มักเชื่อว่าความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนอื่น
      👉 แบบหวาดกลัวหลีกเลี่ยง มักเป็นเด็กที่โตมาอย่างไม่อบอุ่นปลอดภัย มีความกลัวว่าจะถูกทอดทิ้งอยู่เสมอ แต่จะแตกต่างจากแบบกังวลตรงที่จะหลีกเลี่ยงและไม่แสดงออกว่ารู้สึกอย่างไร เชื่อว่าไม่มีใครจะมารักเขาอย่างแท้จริง

มีความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจคนอื่นได้ยาก
      👉 คนที่มีบาดแผลทางใจจะไว้ใจคนอื่นยาก มักสงสัยและหวาดระแวงอยู่ตลอด เช่น ระแวงว่าคนอื่นจะคบกับเขาเพื่อหวังผลประโยชน์

วิธีการสื่อสารที่อจทำให้มีปัญหากับคนอื่น
      👉 แบบยอมตาม มักคล้อมตามคนอื่นไม่ยอมแสดงออกว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร และชอบพูดคำว่า “ขอโทษ” แม้ตัวเองไม่ผิด
      👉 แบบก้าวร้าวทางอ้อม โดยจะพูดจะสุภาพแต่เหน็บแนม เฉียดเฉือนคนฟัง
      👉 แบบก้าวร้าว เมื่อโกธรจะทำร้าย ทำลายสิ่งของ พูดจาหยาบคาย ตะคอกตะโกน

มักนำตัวเองกลับไปเผชิญเหตุการเดิมซ้ำ
      👉 เป็นการนำตัวเองไปอยู่ในเหตุการ์ณเดิมที่เคยเกิดขึ้นและสร้างบาดแผลในใจเขา อย่างไม่รู้ตัว เช่น โตมาในครับครัวที่ถุกพ่อทพร้ายร่างกายตั้งแต่เด็ก ทั้งที่ตัวเขาไม่ชอบสิ่งนั้นแต่กลับเลือกแต่งงานกับผู้ชายที่ทำร้ายร่างกาย ตบตีเขา จึงเป็นการกลับสู่วังวลของบาดแผลทางใจ

ความฉลาดทางอารมณ์น้อยลง
      👉 เด็กที่มีประสบการ์ณที่ไม่ดีมักมีความบกพร่องหรือแสดงออกทางอารมณ์ได้ไม่ดี

มีปัญหาทางสุขภาพจิต
      👉คนที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็กและตกอยู่ในวังวลของความเจ็บปวดและไม่สามารถก้าวข้ามสิ่งเหล่านั้นได้ จะทำให้มีโอกาศเกิดปัญหาทางสุขภาพจิต อย่างเช่น โรคเครียด โรคซึมเศร้า เป็นต้น

ปัญหาบาดแผลทางใจรักษาได้ แม้จะลบมันออกไปจากความทรงจำไม่ได้แต่เราสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันและทำให้มันกลายเป็นเพียงความทรงจำในอดีตที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจุบันได้ อย่าปล่อยให้บาดแผลในใจในวัยเด็กมากพรากทั้งชีวิตของคุณไป